วันอังคารที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2559

ธาลัสซีเมีย (Thalassemia)

ธาลัสซีเมีย (Thalassemia) เป็นโรคโลหิตจางที่มีสาเหตุจากความผิดปกติทางพันธุกรรมระดับยีน ทำให้การสร้างฮีโมโกบิล (Hemoglobin; Hb) ซึ่งเป็นโปรตีนที่เป็นส่วนประกอบสำคัญของเม็ดเลือดแดงผิดปกติ ส่งผลให้เม็ดเลือดแดงมีอายุสั้น แตกง่าย ถูกทำลายง่าย จัดเป็นโรคโลหิตจางทางพันธุกรรมที่พบบ่อยที่สุดในโลก(1) เฉพาะในประเทศไทยนั้นมีผู้เป็นพาหะประมาณ 35 เปอร์เซ็นต์ของประชากรทั้งหมด และมีทารกเกิดใหม่เป็นโรคนี้ปีละประมาณ 12,500 ราย(2) 

ภาวะความรุนแรงของโรคธาลัสซีเมียมีหลายระดับขึ้นอยู่กับชนิดของยีนที่มีความผิดปกติ ผู้ป่วยโรคนี้จะมีภาวะโลหิตจาง และต้องมีสุขอนามัยที่ดีเพื่อป้องกันการติดเชื้อหรือภาวะที่ส่งเสริมการแตกของเม็ดเลือดแดงเช่น การมีไข้ เป็นต้น นอกจากนี้ยังพบภาวะธาตุเหล็กเกินในร่างกาย ซึ่งผู้ป่วยที่มีความรุนแรงของโรคมาก ภาวะธาตุเหล็กเกินมักเกิดจากการได้รับเลือด อ่านเพิ่มเติม

โรคดักแด้ หรือ Epidermolysis Bullosa (EB)

โรคดักแด้ หรือ Epidermolysis Bullosa (EB)
             เป็นโรคที่ถ่ายทอดทางกรรมพันธุ์ เกิดจากความผิดปกติของยีนที่ควบคุมการสร้างผิวหนัง หากมีคุณพ่อคุณแม่ หรือมีประวัติคนในครอบครัวเป็นโรคนี้มาก่อน ก็สามารถ่ายทอดผ่านทางยีนเด่น (Autosomal dominant) มาสู่ลูกได้

โรคนี้แบ่งความรุนแรงได้ตามลักษณะโครงสร้างของผิวหนัง ดังนี้
1. Epldermolysis bullosa simplex : เป็นความผิดปกติที่ชั้นหนังกำพร้า (epidermis) ซึ่งเป็นขั้นไม่รุนแรง ส่วนมากจะเกิดในวัยทารก เมื่อมีการเสียดสี กระทบกระทั่ง มีการขัดถูที่ผิวหนัง ก็อาจเกิดเป็นตุ่มน้ำ เมื่อตุ่มน้ำแตกก็เกิดแผล แต่เมื่อแผลหายแล้วจะไม่เป็นแผลเป็น 

2. Junctional EB : เป็นตุ่มน้ำขึ้นที่ชั้นผิวหนังระหว่างรอยต่อของชั้นหนังกำพร้า (Epidermis) กับชั้นหนังแท้ (Eermis) หากเป็นในขั้นนี้เมื่อแผลหายแล้วจะไม่เป็นแผลเป็น แต่อาจพบความผิดปกของเล็บ ระบบทางเดินหายใจ ทางเดินอาหาร และระบบทางเดินปัสสาวะร่วมด้วย 

3. Eystrophic EB : อาการขั้นรุนแรงที่สุด เพราะเกิดในชั้นหนังแท้ นอกจากความรุนแรงที่ผิวหนังแล้ว หากดูแลแผลไม่ดีเป็นเวลานาน ๆ ก็อาจทำให้มีแ อ่านเพิ่มเติม


ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ โรคดักแด้


โรคดักแด้ หรือ Epidermolysis Bullosa (EB) ในเด็ก มีอาการและวิธีการรักษาอย่างไรโรคดักแด้ หรือ Epidermolysis Bullosa (EB) ในเด็ก มีอาการและวิธีการรักษาอย่างไร

โรคเบาหวาน

เบาหวาน เกิดจากความผิดปกติของร่างกายที่มีการผลิตฮอร์โมนอินซูลินไม่เพียงพอ อันส่งผลทำให้ระดับน้ำตาลในกระแสเลือดสูงเกิน โรคเบาหวานจะมีอาการเกิดขึ้นเนื่องมาจากการที่ร่างกายไม่สามารถใช้น้ำตาลได้อย่างเหมาะสม ซึ่งโดยปกติน้ำตาลจะเข้าสู่เซลล์ร่างกายเพื่อใช้เป็นพลังงานภายใต้การควบคุมของฮอร์โมนอินซูลิน ซึ่งผู้ที่เป็นโรคเบาหวานร่างกายจะไม่สามารถนำน้ำตาลไปใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ผลที่เกิดขึ้นทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้น ในระยะยาวจะมีผลในการทำลายหลอดเลือด ถ้าหากไม่ได้รับการรักษาอย่างเหมาะสม อาจนำไปสู่สภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงได้โรคเบาหวานนี้เปรียบเทียบได้ง่ายๆ โดยเปรียบร่างกายเราเป็นระบบปั๊มน้ำ และน้ำในระบบก็คือเลือดของเราโดยปรกติแล้วปั๊มน้ำก็จะทำงานอย่างปรกติ แต่เมื่อมีการทำให้น้ำในระบบเกิดค อ่านเพิ่มเติม

ฮีโมฟิเลีย (Hemophilia) / ไอทีพี (ITP)

ภาวะเลือดออกง่าย หรือเลือดออกแล้วหยุดยาก อาจมีสาเหตุจากความผิดปกติ
ของหลอดเลือด เกล็ดเลือด (platelets) หรือระบบการแข็งตัวของเลือด 
(coaglulation system)
ลักษณะของเลือดออกที่เกิดขึ้นตามผิวหนัง อาจเป็นจุดแดง ขนาด 1 มิลลิเมตร 
หรือเท่าปลายเข็มหมุด เรียกว่า เพติเคีย (petichiae) หรือเป็นจ้ำเขียว หรือ 
พรายย้ำ ขนาด 1-10 มิลลิเมตร หรือเท่าปลายนิ้ว เรียกว่า เอกไคโมซิส 
(ecchymosis) หรือเป็นก้อนนูน (hematoma)

โดยทั่วไป ถ้ามีสาเหตุจากหลอดเลือดผิดปกติ (เช่น หลอดเลือดเปราะ ในผู้ป่วย
ไข้เลือดออก) มักจะเกิดเป็นจุดแดงหรือจ้ำเขียวตื้น ๆ 
ถ้าเกิดจากเกล็ดเลือดผิดปกติ (เช่น เกล็ดเลือดต่ำในผู้ป่วยไข้เลือดออก, โลหิต
จางอะพลาสติก, มะเร็งเม็ดเลือดขาว, เอสแอลอี, ไอทีพี) มักเกิดเป็นจุดแดง 
ซึ่งอาจมีจ้ำเขียวร่วมด้วยหรือไม่ก็ได้
ถ้าเกิดจากระบบการแข็งตัวของเลือดผิดปกติ (เช่น ฮีโมฟิเลีย, ตับแข็ง, ภาวะ
ไตวาย, งูพิษกัด) มักเกิดเป็นจ้ำเขียว หรือก้อนนูน โดยไม่มีจุดแดงร่วมด้วย

สาเหตุที่ทำให้เลือดออกง่ายที่พบบ่ อ่านเพิ่มเติม


โรคตาบอดสี

   ตาบอดสี (Color Blindness) คือความบกพร่องของสายตา ในการแยกแยะความแตกต่างของสีหรือการที่ตามองเห็นสีบางสีผิดไปจากความเป็นจริง เช่น คนที่ตาบอดสีแดงอาจมองเห็นวัตถุเป็นสีเทาแต่ไม่ใช่ว่าจะมองไม่เห็นสีของวัตถุเลย สาเหตุส่วนใหญ่ของตาบอดสีเกิดจากกรรมพันธุ์ โดยคนที่ตาบอดสีส่วนใหญ่จะบอดสีแดงและสีเขียว และพบว่าเป็นในผู้ชายมากกว่าผู้หญิงถึง 10 เท่า
ตาบอดสี
ตาบอดสี
                การที่คนเราสามารถมองเห็นสีต่างๆ ได้เป็นเพราะจอตาของเรามีเซลล์ในการรับรู้การเห็นสี  (Photoreceptor Cell) และเกิดจากคลื่นแสงสีต่างๆ มากระทบตาเราด้วย โดยจอตาของคนเรามีเซลล์รับรู้การมองเห็น 2 ชนิด คือ เซลล์รูปแท่ง เป็นเซลล์ที่ช่วยใน อ่านเพิ่มเติม

โรคากสารเคมีกำจัดศัตรูพืช

  ถือเป็นโรคและการเจ็บป่วยที่เกิดจากการประกอบอาชีพอย่างหนึ่ง เกิดจากการได้สัมผัสสารป้องกันกำจัดแมลงศัตรูพืชเข้า สู่ร่างกาย ทั้งทางปาก ผิวหนัง และการหายใจ
ผลกระทบด้านสุขภาพจากสารเคมีกำจัดศัตรูพืช

  1. ผลกระทบที่เป็นพิษเฉียบพลัน ผู้ป่วยจะมีอาการในทันทีหลังจากสัมผัสสารเคมี เช่น คลื่นไส้ อาเจียน ปวดศีรษะ ปวดกล้ามเนื้อ ท้องร่วง หายใจติดขัด ตาพร่า เป็นต้น
  2. ผลกระทบที่เป็นพิษเรื้อรัง เกิดจากพิษสะสมที่ก่อให้เกิดโรคหรือปัญหาอื่นๆ เช่น มะเร็ง เบาหวาน อัมพฤกษ์ อัมพาต โรคผิวหนังต่างๆ การเป็นหมัน การพิการของทารกแรกเกิด หรือการเสื่อมสมรรถภาพทางเพศ เป็นต้น
สารเคมีกำจัดศัตรูพืชตกค้าง : วิกฤตในระบบอาหารไทยการบริโภคผักและผลผลิตที่มีสารเคมีตกค้าง ดังรายงานการตรวจเลือดในเกษตรกรและผู้บริโภคในจั อ่านเพิ่มเติม



โรคหอบหืดจากการประกอบอาชีพ

โรคหอบหืดจากการประกอบอาชีพ (Occupational asthma)
เกิดจากการทำงานสัมผัสกับสารก่อโรคในที่ทำงาน ซึ่งอาจเป็นการสัมผัสสารกลุ่มน้ำหนักโมเลกุลต่ำ เช่น สารยึดติด สารเคลือบต่าง ๆ สารเคมีที่ใช้ในกระบวนการผลิตโพลิเมอร์ ผลิตอีพอกซีย์ และไอที่เกิดจาก การชุบเชื่อมโลหะต่าง ๆ การสัมผัสสารก่อโรค  ชนิดน้ำหนักโมเลกุลสูง  เป็นสารที่เกิดจากผลผลิตทางชีวภาพ ได้แก่ เชื้อรา แบคทีเรีย แมลง พืช ต่าง ๆ เช่น เครื่องเทศ กาแฟ ละหุ่ง  ถั่วเหลือง เกสรดอกไม้ แป้ง เป็นต้น
ลักษณะงานและอาชีพที่เสี่ยง
ได้แก่ผู้ที่ทำงานสัมผัสกับสารก่อโรค อุตสาหกรรมการผลิตสานยึดติด  อีพอกซีย์ งานเคลือบ ฉาบผิว วัสดุด้วยแลคเกอร์ หรือโพลียูรีเธน งานเชื่อม บัดกรีโลหะ งานทา พ่นสีรถยนต์ อาชีพที่เสี่ยงจากการสัมผัสสาร ก่อโรคชนิดน้ำหนักโมเลกุลสูงได้แก่ อุตสาหกรรมผลิตอาหาร อุตสาหกรรมผลิตกาแฟ อุตสาหกรรมการผลิตแป้ง ขนมปัง การทำเฟอร์นิเจอร์
อันตรายต่อระบบอวัยวะที่สำคัญของร่าง อ่านเพิ่มเติม